วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เอกลักษณ์ดนตรีไทย

 เอกลักษณ์ดนตรีไทย 
สัญลักษณ์ของดนตรีไทยมีเอกลักษณ์ประจําชาติซึ่งจะพิจารณาได้ ๓ ประการคือ
1.วัสดุที่สร้าง
         เครื่องดนตรีของทุกๆชาติในยุคเริ่มแรกก็มักจะใช้วัสดุที่มีอยู่ในถิ่นของตนมาสรรค์์
 สร้างขึ้นแล้วจึงค่อยวิวัฒนาการต่อไป  ภูมิประเทศของไทยตั้งแต่สมัยโบราณนั้นอุดม
ไปด้วยไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หนังและกระดูกสัตว์ที่ใช้งานและใช้เนื้อเป็นอาหาร
เครื่องดนตรีของไทยมักจะสร้างจากสิ่งเหล่านี้โดยมาก เช่น ซอด้วง ขั้นแรกกระบอก
ซอด้วงก็ใช้ทําด้วยไม้ไผ่แล้วเปลี่ยนเป็นไม้เนื้อแข็ง  ต่อมาคนไทยมาอยู่ในตอนใต้ลงไป
และใช้ช้างเป็นพาหนะและใช้แรงงาน  กระบอกซอด้วงจึงทําด้วยงาช้างซึ่งเป็นสิ่งที่
สวยงามมาก  ซออู้ ซอสามสาย กะโหลกนั้นทำด้วยกะลามะพร้าวซึ่งอุดมมากในดินแดน
ของไทยตอนใต้นี้  ระนาดของไทยแม้จะมาเริ่มใช้เอาในตอนหลังก็ยังทําด้วยไม้ไ่ผ่
่ซึ่งมีเสียงไพเราะนุ่มนวลกว่าทําด้วยไม้เนื้อแข็งมาก  เพราะไม้ไผ่บงในจังหวัดตราด
ทําลูกระนาดมีเสียงไพเราะดีไม่มีที่ไหนสู้  ต่างกับระนาดของชาติใกล้เคียงที่ทําด้วย
ู้ไม้เนื้อแข็งที่มีเสียงกระด้างกว่า  ส่วนกลอง ตัวกลองทําด้วยไม้เนื้อแข็งและขึงหน้า
ด้วยหนังสัตว์ เฉพาะกลองที่ขึงหนังสองหน้าตรึงด้วยหมุดที่เราเรียกกันว่า “กลองทัด” 
นั้น จีนได้เอาอย่างไปใช้แล้วเรียกชื่อว่า “น่านตังกู๊” ซึ่งแปลว่า “กลองของชาวใต้”
ส่วนฆ้องทั้งฆ้องโหม่งฆ้องวงทําด้วยทองเหลือง   ซึ่งชาวไทยเราสามารถในเรื่อง
หล่อทองเหลืองมากยิ่งกว่าชาติอื่นในถิ่นแถบนี้
2.รูปร่างลักษณะ
         ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รูปร่างลักษณะที่จะเห็นว่างดงามนั้น ย่อมเป็นไปตามจิตใจ
นิสัยและสัญชาตญาณที่เห็นงามของชาตินั้นๆ ชนชาติไทยป็นผู้ที่มีจิตใจและนิสัยอ่อนโยน
มีเมตตากรุณายิ้มแย้มแจ่มใส  ศิลปะต่างๆของไทยจึงมักจะเป็นรูปที่เป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย
ที่จะหักมุม ๔๕ องศานั้นน้อยที่สุด และทุกๆสิ่งมักจะเป็นปลายเรียวแหลม  ขอให้พิจารณา
ดูศิลปะต่างๆของไทยเพื่อเปรียบเทียบ เช่น บ้านไทย  จั่วและปั้นลมอ่อนช้อยจนถึง
ปลายเรียวแหลม ช่อฟ้าใบระกาของปราสาทราชวังและโบสถ์วิหารล้วนแต่อ่อนช้อย
่น่าชมสมส่วน ลายไทยซึ่งเต็มไปด้วย กระหนกต่างๆ กระหนกทุกตัวจะเป็นเส้นโค้ง
อ่อนสลวยและสะบัดสะบิ้ง จนถึงปลายแหลม เครื่องแต่งตัวละครรําเป็นละครของไทยแท้
มีมงกุฎและชฎาเรียวและยอดแหลม อินทรธนูที่ประดับบ่าก็โค้งและปลายแหลม
ท่ารําของละครแขนและมือเมื่อจะงอหรือจะเหยียดล้วนเป็นเส้นโค้งตลอดจนปลายนิ้วมือ
ซึ่งอ่อนช้อยน่าดูมาก
         ทีนี้มาดูลักษณะรูปร่างของเครื่องดนตรีไทย โทน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ส่วนสัดเป็นเส้นโค้งและมีปลายแหลมทั้งนั้น โขนของฆ้องวงใหญ่และฆ้องเล็ก
โอนสลวยขึ้นไป คล้ายหลังคาบ้านไทยส่วนโขนของคันซอด้วงที่เรียกว่า “ทวนบน”
ก็โค้งอ่อนขึ้นไปจนปลายคล้ายกับโขนเรือพระราชพิธีของไทยโบราณนี่คือ
รูปลักษณะของดนตรีไทย
3.เสียงของดนตรีไทย
           เครื่องดนตรีไทยที่สร้างขึ้นนั้นล้วนแต่มีเจตนาให้ไพเราะแต่ว่าเป็นเสียง
ไพเราะอย่างนุ่มนวลอ่อนหวานไม่เอะอะหรือเกรี้ยวกราด  ซึ่งเป็นไปตามลักษณะนิสัย
ของชนชาติไทย  เสียงซอ เสียงขลุ่ย เสียงปี่ เสียงฆ้อง และเสียงพิณ ล้วนเป็นสิ่งที่
มีเสียงนุ่มนวล มีกังวานไพเราะอย่างอ่อนหวาน  แม้จะมีสิ่งที่มีเสียงดังมาก
เช่น กลองทัดผสมอยู่บางเวลาก็เป็นสิ่งจําเป็น โดยการบรรเลงเพลงที่มีกลองนั้น
มักจะเป็นเพื่อโฆษณาให้ผู้ที่อยู่ไกลได้ยินได้รู้กิจกรรมที่กระทํา อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นเจตนา
ของผู้สร้างเครื่องดนตรีไทยว่าต้องการความไพเราะอย่างนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าวก็คือ
การที่จะเทียบเสียงระนาดและฆ้องวงให้มีเสียงสูงต่ำ ตามประสงค์นั้นได้ใช้ขี้ผึ้ง
ผสมกับผงตะกั่วเป็นเครื่องถ่วงเสียงสําหรับระนาด จะติดขี้ผึ้งตรงเบื้องล่างหัวลูกระนาด
ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน  ส่วนฆ้องวงจะติดขี้ผึ้งตรงใต้ปุ่มฆ้องผลของการติด
ด้วยขี้ผึ้งผสมผงตะกั่วนี้ยิ่งติดมาก ก็ยิ่งทําให้เสียงต่ำ ถ้าเอาออกก็จะเป็นเสียงสูง
นอกจากทําให้เสียงสูงต่ำแล้วยังจะทําให้สิ่งที่เทียบด้วยติดขี้ผึ้งนี้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะ
ไม่โฉ่งฉ่าง  ฆ้องที่ทําสําเร็จเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการโดยไม่ต้องติดขี้ผึ้งกับผงตะกั่วนั้น
เสียงจะแกร่งกร้าวไม่นุ่มนวล เช่น ฆ้องของพม่าและชวา เป็นต้น  แต่ในสมัยปัจจุบันได้มี
การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้ ความบันเทิงกัน
เมื่อเครื่องดนตรีของไทยที่มีระนาดเอกและฆ้องวงต้องไปบรรเลงในประเทศที่มีอากาศ
หนาว ความเย็น อาจจะทําให้ขี้ผึ้งกับผงตะกั่วที่ถ่วงเสียงนั้นหลุดได้ง่าย ซึ่งเป็นอุปสรรค
แก่การบรรเลงเป็นอันมาก  เมื่อเป็นเช่นนี้ต่อไปอาจต้องยอมให้เสียงดนตรีขาดความ
นุ่มนวลลงไปโดยสร้างระนาดและฆ้องวงที่สําเร็จรูปมีเสียงสูงต่ำตามประสงค์ โดยไม่ต้อง
ติดขี้ผึ้งถ่วงเสียงก็เป็นได้




แหล่งที่มา:http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/eakkaluk.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น